โรคนอนไม่หลับ อันตรายแค่ไหน?
การวินิจฉัยโรค อาศัยการซักประวัติเกี่ยวกับการนอนหลับ , สภาวะร่างกาย และจิตใจ ร่วมถึงการประเมินสาเหตุอิ่นๆ นอกจากนี้การทำแบบบันทึกการนอน (sleep diary) สามารถทำให้ทราบถึงลักษณะ เวลาการนอน เวลาตื่นที่ผิดปกติได้ การรักษาโดยไม่ใช้ยา (sleep hygiene) เข้านอนตรงเวลาและตื่นตรงเวลาเป็นประจำในเวลาใกล้เคียงกันทุกวันทั้งวันธรรมดาและวันหยุด ออกกำลังกายสม่ำเสมอเป็นประจำโดยแนะนำการออกกำลังกายแบบแอโรบิค สำหรับเวลาที่เหมาะสมควรเป็นช่วงเวลาเช้าและไม่ควรออกกำลังกายก่อนเวลานอน 2 ชั่วโมง สร้างบรรยากาศห้องนอนที่เหมาะสมโดยมีความเงียบสงบและไม่ร้อนหรือหนาวไป ควรปิดไฟขณะนอนหลับ ใช้เตียงนอนสำหรับการนอนหรือกิจกรรมทางเพศเท่านั้นไม่แนะนำให้ทำกิจกรรมอื่นบนเตียง เช่นดูโทรทัศน์,อ่านหนังสือ เป็นต้น ก่อนเวลานอนซัก 1 ชั่วโมงควรผ่อนคลาย เช่น ฟังเพลงสบายๆ,อ่านหนังสือ,นั่งสมาธิ,ทำกิจกรรมเบาๆ ที่ทำให้ไม่ตื่นเต้นและไม่เครียด ไม่ควรทำกิจกรรมที่จะทำให้ตื่นเต้นก่อนนอน เช่น เล่นอินเตอร์เน็ต,เล่นเกมส์,ดูโทรทัศน์ หรือภาพยนตร์ที่มีความตื่นเต้น ไม่ควรดิ่ม ชา,กาแฟ และเครื่องดิ่มที่มีคาเฟอีน อย่างน้อย 6 ชั่วโมงก่อนนอน ไม่ควรทานอาหารมื้อใหญ่อย่างน้อย 4 ชั่วโมงก่อนนอน สามารถนอนงีบได้ในเวลากลางวันโดยไม่เกิน 20 นาที และไม่ควรหลับหลังบ่ายสองโมง ระหว่างนอนหลับไม่ควรดูนาฬิกาเนื่องจากจะทำให้เกิดความกังวล ไม่ควรดื่มน้ำมากกว่า 1 แก้วก่อนนอนและควรปัสสาวะก่อนเข้านอน หลีกเลี่ยงการดื่มแอลกอฮอล์เพื่อช่วยให้หลับถึงแม้ว่าจะช่วยให้หลับได้แต่ทำให้การนอนไม่มีคุณภาพหากจะดื่มแนะนำให้ดื่มอย่างนอน 4 ชั่วโมง …