โรคนอนไม่หลับ อันตรายแค่ไหน?
โรคนอนไม่หลับ หรือหลับยากหลับไม่สนิท เรียกว่าโรคนอนไม่หลับ ถ้าคุณมีอาการของโรคนอนไม่หลับ คุณจะรู้ว่าการนอนไม่หลับมีผลกระทบต่อคุณ ไม่ว่าจะเป็นในช่วงกลางวัน และกลางคืน ทำให้คุณรู้สึกอ่อนเพลียในระหว่างวัน จึงเป็นสาเหตุให้มีปัญหาในการทำงาน
เป็นปัญหาที่พบได้ทุกเพศทุกวัย ร้อยละ 30-35 ของผู้ใหญ่พบภาวะดังกล่าวเป็นจำนวนมากของผู้สูงอายุ ผู้ที่มีปัญหาเจ็บป่วยทั้งทางร่างกาย และจิตใจ ผู้ป่วยจะมีปัญหานอนไม่หลับทั้งๆที่มีโอกาสเพียงพอสำหรับการนอน การรักษา โรคนอนไม่หลับ ต้องอาศัยทั้งตัวคุณเอง และแพทย์เพื่อหาสาเหตุของปัญหา ผู้ป่วยหลายรายที่เป็น โรคนอนไม่หลับเกิดจากหลายปัจจัยร่วมกัน ผู้ป่วยบางรายอาจมีโรคทางกาย หรือโรคทางจิตใจที่เป็นสาเหตุของโรคนอนไม่หลับ
โรคนอนไม่หลับ มีหลายประเภท
โรคนอนไม่หลับ เกิดขึ้นได้ในประชากรทุกช่วงอายุ คนส่วนใหญ่มักมีอาการนอนไม่หลับ 1 ถึง 2 คืนแต่บางครั้งอาจเกิดขึ้นนานเป็นสัปดาห์ หรือเดือน และอาจจะนานไปจนถึงปี โรคนอนไม่หลับมักเป็นในผู้หญิง และผู้สูงอายุ
- Initial insomnia คือ ภาวะที่ผู้ป่วยมีปัญหานอนไม่หลับ ใช้เวลานอนนานกว่าจะหลับ ภาวะดังกล่าวอาจสัมพันธ์กับภาวะวิตกกังวล
- Maintinance insomnia คือ ภาวะที่ผู้ป่วยไม่สามารถนอนหลับ ได้ยาวมีการตื่นกลางดึกบ่อยๆ ภาวะดังกล่าวอาจเกี่ยวข้องกับปัญหาทางกาย เช่นภาวะหยุดหายใจ ขณะหลับจากการอุดกั้น
- Terminal insomnia คือ ภาวะที่ผู้ป่วยตื่นเร็ว กว่าเวลาที่ควรจะตื่นอาจพบได้ในผู้ป่วยที่มีภาวะซึมเศร้า
- Adjustment lnsomnia คือ เป็นปัญหาหลับได้ยาก หรือหลับไม่สนิท เป็นเวลาไม่กี่คืน และนอนน้อยกว่า 3 เดือน โรคนอนไม่หลับ ชนิดนี้มักเกิดจากความตื่นเต้น หรือความเครียดยก ตัวอย่างในเด็กก่อนที่โรงเรียนจะเปิดเทอม โรคนอนไม่หลับอาจเกิดในคืนก่อนการสอบสำคัญ หรือก่อนการแข่งขันกีฬา การออกกำลังกายก่อนเวลาเข้านอนภายใน 4 ชั่วโมง หรือเวลาเจ็บป่วยก็เป็นสาเหตุของโรคนอนไม่หลับได้
- Chronic insomnia คือ นอนไม่หลับมากกว่า 1 เดือน คนที่นอนไม่หลับส่วนมาก มักจะกังวลกับการนอนหลับของตนแต่นั้นเป็นสิ่งที่ผิด ที่จะโทษปัญหาการนอนหลับทั้งหมด ว่าเกี่ยวกับความกังวล การศึกษาของ American Academy of Sleep Medicine กล่าวไว้ว่าผู้ป่วยโรคนอนไม่หลับ อาจมีปัญหาเกี่ยวกับการหายใจ หรือการทำงานของกล้ามเนื้อ ที่ผิดปกติในระหว่างนอนหลับ ผู้เชี่ยวชาญโรคจากการนอนหลับจะสามารถช่วยหาสาเหตุ และแนะนำการรักษา ที่มีประสิทธิภาพได้
อาการของผู้ป่วยที่มีภาวะนอนไม่หลับ
อ่อนเพลีย
ไม่มีสมาธิในการทำงาน
อารมณ์หงุดหงิดกระสับกระส่าย
ง่วงนอนเวลากลางวัน
กังวลเกี่ยวกับปัญหาที่เกิดขึ้น
ปัจจัยที่อาจเป็นสาเหตุของภาวะนอนไม่หลับ
- ปัญหาความเครียด
- ภาวะความผิดปกติของการหลับ เช่นภาวะขาอยู่ไม่สุข (Restless legs syndrome)
- ภาวะเจ็บป่วยทางกาย เช่นภาวะปวด , เหนื่อย , กรดไหล่ย้อน , การที่ร่างกายไม่สามารถเคลื่นไหวได้ปกติ สาเหตุข้อนี้พบได้บ่อยในผู้สูงอายุ นอกจากนี้แล้วภาวการณ์ตั้งครรภ์ , หมดประจำเดือน ยังมีผลต่อการนอนไม่หลับ
- ภาวะทางจิตใจ เช่นภาวะซึม , ภาวะวิตกกังวล
- ภาวะกังวลว่าจะนอนไม่หลับ (Psychophysiological insomnia) ผู้ป่วยจะกังวลกับปัญหานอนไม่หลับ ที่เกิดขึ้นซึ่งความวิตกนี้เอง ที่ทำให้เกิดการตื่นตัวของร่างกาย และจิตใจผลจึงทำให้เกิดภาวะนอนไม่หลับ
- การใช้ยา หรือสารบางชนิด เช่นยาแก้หวัด , ยากลุ่ม Psudoepheridrine ยาลดน้ำหนัก , ยาแก้หอบหืด , ยาต้านซึมเสร้า , ยากลุ่ม Methylphenidate นอกจากนี้เครื่องดืมที่มีคาเฟอีน , นิโคติน และแอลกฮออล์ก็มีผลที่ทำให้ เกิดภาวะนอนไม่หลับ
- ปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อม เช่นเสียงหรือแสงที่มารบกวน , อุณหภูมิห้องที่ไม่เหมาะสม เป็นต้น
- ปัญหาการทำงานเป็นกะ (Shift work)
การวินิจฉัยโรค อาศัยการซักประวัติเกี่ยวกับการนอนหลับ , สภาวะร่างกาย และจิตใจ ร่วมถึงการประเมินสาเหตุอิ่นๆ นอกจากนี้การทำแบบบันทึกการนอน (sleep diary) สามารถทำให้ทราบถึงลักษณะ เวลาการนอน เวลาตื่นที่ผิดปกติได้
การรักษาโดยไม่ใช้ยา (sleep hygiene)
เข้านอนตรงเวลาและตื่นตรงเวลาเป็นประจำในเวลาใกล้เคียงกันทุกวันทั้งวันธรรมดาและวันหยุด
ออกกำลังกายสม่ำเสมอเป็นประจำโดยแนะนำการออกกำลังกายแบบแอโรบิค สำหรับเวลาที่เหมาะสมควรเป็นช่วงเวลาเช้าและไม่ควรออกกำลังกายก่อนเวลานอน 2 ชั่วโมง
สร้างบรรยากาศห้องนอนที่เหมาะสมโดยมีความเงียบสงบและไม่ร้อนหรือหนาวไป
ควรปิดไฟขณะนอนหลับ
ใช้เตียงนอนสำหรับการนอนหรือกิจกรรมทางเพศเท่านั้นไม่แนะนำให้ทำกิจกรรมอื่นบนเตียง เช่นดูโทรทัศน์,อ่านหนังสือ เป็นต้น
ก่อนเวลานอนซัก 1 ชั่วโมงควรผ่อนคลาย เช่น ฟังเพลงสบายๆ,อ่านหนังสือ,นั่งสมาธิ,ทำกิจกรรมเบาๆ ที่ทำให้ไม่ตื่นเต้นและไม่เครียด
ไม่ควรทำกิจกรรมที่จะทำให้ตื่นเต้นก่อนนอน เช่น เล่นอินเตอร์เน็ต,เล่นเกมส์,ดูโทรทัศน์ หรือภาพยนตร์ที่มีความตื่นเต้น
ไม่ควรดิ่ม ชา,กาแฟ และเครื่องดิ่มที่มีคาเฟอีน อย่างน้อย 6 ชั่วโมงก่อนนอน
ไม่ควรทานอาหารมื้อใหญ่อย่างน้อย 4 ชั่วโมงก่อนนอน
สามารถนอนงีบได้ในเวลากลางวันโดยไม่เกิน 20 นาที และไม่ควรหลับหลังบ่ายสองโมง
ระหว่างนอนหลับไม่ควรดูนาฬิกาเนื่องจากจะทำให้เกิดความกังวล
ไม่ควรดื่มน้ำมากกว่า 1 แก้วก่อนนอนและควรปัสสาวะก่อนเข้านอน
หลีกเลี่ยงการดื่มแอลกอฮอล์เพื่อช่วยให้หลับถึงแม้ว่าจะช่วยให้หลับได้แต่ทำให้การนอนไม่มีคุณภาพหากจะดื่มแนะนำให้ดื่มอย่างนอน 4 ชั่วโมง ก่อนเข้านอน
ยานอนหลับช่วยได้ไหม
ยานอนหลับสามารถทำให้คุณนอนหลับ และรู้สึกกรปรี้กระเปร่าในวันถัดไปแต่อย่างไรบางครั้งยานอนหลับอาจปิดบังอาการอย่างที่เกิดจากโรคอื่นๆได้ เช่นยานอนหลับอาจช่วยให้อาการบางอย่างของภาวะหยุดหายใจขณะหลับจากการอุดกั้นดีขึ้นได้ชั่วคราว เช่นทำให้การตื่นระหว่างคืนน้อยลงโดยทั่วไปโรคนอนไม่หลับต้องได้รับการวินิจฉัยที่เหมาะสมและการวิเคราะห์แนวทางการรักษาต่างๆ จากแพทย์ผู้เชี่ยว๙ญก่อนได้รับการรักษาด้วยการรับประทานยา
ยานอนหลับมีหลายชนิด รวมถึงยาบางชนิดที่คุณสามารถซื้อหามาได้โดยไม่ต้องมีใบสั่งจากแพทย์ ยาแต่ละชนิดก็มีทั้งข้อดีและข้อเสีย เช่นยาบางชนิดออกฤทธิ์ระยะสั้น และออกฤทธิ์ได้ดีที่สุดเมื่อคุณเริ่มนอนหลับ บางชนิดออกฤทธิ์ระยะยาว และออกฤทธิ์ได้ดีที่สุดเพื่อให้คุณนอนหลับได้ตลอดทั้งคืน การปรึกษากับแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเพื่อหาว่ายานอนหลับชนิดใดเหมาะสมกับคุณมากที่สุด
กลุ่มยาที่ใช้รักษา ภาวะนอนไม่หลับ
1.Benzodiazepine กลุ่มยาดังกล่าวเป็นกลุ่มยาที่ใช้บ่อยในเวชปฏิบัติ ถ้าแบ่งคร่าวๆจะแบ่งเป็ฯกลุ่มที่ออกฤทธิ์สั้นและออกฤทธิ์ยาวสำหรับกลุ่มออกฤทธิ์สั้นได้แก่ lorazepam,triazolam ซึ่งเหมาะสำหรับผู้ป่วยที่นอนหลับยากในช่วงแรก (initial insomnia) อย่างไรก็ตามการใช้ยากลุ้มชนิดนี้ที่ออกฤทธิ์เร็ว เช่น Alprazolam,Midazolam อาจเกิดการขาดยาได้ง่าย จึงถอนยาออกได้ยากโอกาศติดยาสูงจึงต้องระวังการใช้อย่างมาก สำหรับกลุ่มยาที่ออกฤทธิ์นานเหมาะสำหรับผู้ที่มีปัญหาหลับไม่สนิทระหว่างคืนหรือตื่นเร็วกว่าปกติ เช่น clonazepam,diazepam เป็นต้น การใช้ยาในผู้สูงอายุอาจลดขนาดและต้องระวังผลข้างเคียงอย่าง สิ่งสำคัญการรับประทานยากลุ่มนี้ต่อเนื่องเกินสองสัปดาห์มีโอกาสเกิดการดื้อยา และเกิดอาการขาดยาได้เมื่อหยุดการให้ยา
2. Non-Benzodiazepine เช่น Zolpidem เป็นกลุ่มยาที่ออกฤทธิ์เร็ว ดูดซึมได้ดีอย่างไรก็ตามอาจต้องระวังผลข้างเคียง เช่น ง่วงซึม,มึนศีรษะ หรือละเมอ
3.ยาต้านซึมเศร้า เช่น Trazodone,Mirtazapine วึ่งยาดังกล่าวนอกจากมีผลเรื่องการปรับอารมณ์ แล้วยังมีกลไกการออกฤทธิ์ช่วยการหลับ
4.ยากลุ่ม melatonin เป็นสารที่สังเคราะห์ภายในร่างกายมีบทบาทช่วยให้เกิดการนอนหลับ ปัจจุบันมีการผลิตที่อยู่ในรูปเมลาโทนินภายนอกร่างกายใช้เพื่อช่วยการนอนหลับ
ขอขอบคุณข้อมูลจาก
Spot on with this write-up, I honestly believe that this web site needs a great deal more attention. I’ll probably be back again to see more, thanks for the info!|
Hi there! Would you mind if I share your blog with my zynga group? There’s a lot of people that I think would really appreciate your content. Please let me know. Thanks|
This is a topic that is near to my heart… Best wishes! Where are your contact details though?|
Nice post. I learn something totally new and challenging on websites I stumbleupon everyday. It’s always helpful to read articles from other authors and practice something from other web sites. |
Hi! Would you mind if I share your blog with my myspace group? There’s a lot of people that I think would really enjoy your content. Please let me know. Cheers|